ความหมายของคำกริยา
คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ เช่นคำว่า กิน เดิน นั่ง นอน เล่น จับ เขียน อ่าน เป็น คือ ถูก คล้าย เป็นต้น
ชนิดของคำกริยา
คำกริยาแบ่งเป็น ๕ ชนิด
๑. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เข้าใจได้ เช่น
- เขา"ยืน"อยู่ - น้อง"นอน"
๒. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น
- ฉัน "กิน"ข้าว (ข้าวเป็นกรรมที่มารับคำว่ากิน)
- เขา"เห็น"นก (นกเป็นกรรมที่มารับคำว่าเห็น)
๓. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ คำกริยาพวกนี้คือ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ เช่น
- เขา"เป็น"นักเรียน - เขา"คือ"ครูของฉันเอง
๔. กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่คำว่า จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่น
- นายดำ"จะ"ไปโรงเรียน - เขา"ถูก"ตี
๕. กริยาสภาวมาลา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
- "นอน"หลับเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอน เป็นคำกริยาที่เป็นประธานของประโยค)
- ฉันชอบไป"เที่ยว"กับเธอ (เที่ยว เป็นคำกริยาที่เป็นกรรมของประโยค)
หน้าที่ของคำกริยามีดังนี้คือ
๑. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค เช่น
- ขนมวางอยู่บนโต๊ะ - นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน
๒. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
- วันเดินทางของเขาคือวันพรุ่งนี้ ("เดินทาง" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำนาม "วัน")
๓. ทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น
- เด็กคนนั้นนั่งดูนก ("ดู" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา "นั่ง")
๔. ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
- ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง ("ออกกำลังกาย" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
- เด็กชอบเดินเร็วๆ ("เดิน" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)
คำกริยา
01:18 |
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
2 ความคิดเห็น:
^_^
ขอบคุณค่ะ
แสดงความคิดเห็น